โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่คือออะไร
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คืออาการที่เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ภายใต้ปัจจัยก่อมะเร็งต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อมหรือพันธุกรรม เป็นต้น ตำแหน่งที่เกิดโรคบ่อยคือ ลำไส้ตรงและส่วนที่อยู่ระหว่างลำไส้ตรงกับกับลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ (Sigmoid Colon) อัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่รองลงมาจากโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และ โรคมะเร็งหลอดอาหาร พบอัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ค่อนข้างสูงในบุคคลอายุระหว่าง 40-50 ปี ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี มีประมาณ 15% เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงอยู่ที่ 2 : 1
โครงสร้างของลำไส้ใหญ่ และ ทวารหนัก
ระบบทางเดินอาหารเริ่มตั้งแต่ช่องปาก (Oral Cavity) หลอดอาหาร (Esophagus) กระเพาะอาหาร (Stomach) ลำไส้เล็ก (Jejunum) ส่วนลำไส้ใหญ่เริ่มตั่งแต่ Ascending Colon, Transverse Colon, Descending Colon, Sigmoid Colon ไปสิ้นสุดที่ ทวารหนัก (Rectum) และเปิดที่รูทวาร (Anus)
หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือกักอาหารที่เหลือจากการดูดซึม ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 6 ฟุต ส่วน Rectum ยาว 8-10 นิ้ว
สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้
1. การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำหรืออาหารที่มีปริมาณ Calcium น้อย ทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องเสียบ่อยๆ และเป็นเวลานาน รวมทั้งการรับประทานอาหารที่มีโปรตีน ไขมัน ในปริมาณสูง
2. เกิดก้อนเนื้องอกขึ้นในระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะที่บริเวณลำไส้ ซึ่งอาจเกิดจากปฏิกิริยา Oxidation และสามารถเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ง่ายภายใต้การกระตุ้นหลายอย่าง โดยเปลี่ยนจากก้อนเนื้อดีกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย
3. อาการที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้มาก่อนก็จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้สูงขึ้น
4. โรคโครหน์ (Crohn) หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล : อัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ป่วยโรคโครหน์จะสูงกว่าคนปกติถึง 30 เท่า
5. มีการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และ ไปตกค้างที่ลำไส้
6. เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณลำไส้เกิดการเสื่อมสภาพ สูญเสียความยืดหยุ่นไป ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงที่บริเวณลำไส้ได้อย่างเพียงพอ
1. อุจจาระเป็นมูกเลือดโดยไม่เจ็บปวด เลือดที่ปนกับอุจจาระเป็นสีแดงสดหรือสีแดงคล้ำ
2. ท้องอืด ปวดท้อง การย่อยอาหารไม่ดี ความอยากอาหารลดลง
3. พฤติกรรมการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป ถ่ายบ่อยหรือมีอาการท้องร่วงสลับกับท้องผูก
4. ลักษณะของอุจจาระเปลี่ยนไป เล็กลง แบนลง หรือ มีรูพรุน
5. ผอมลงอย่างกะทันหัน และ มีอาการโลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
6. มีแผลที่ทวารหนักมานานและไม่หาย ทวารหนักเจ็บอย่างต่อเนื่อง
7. ปรากฏอาการลุกลามไปที่ตับ เช่น เกิดอาการดีซ่าน ท้องมาน และ บวมน้ำ
วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่มีอะไรบ้าง
1. การตรวจลำไส้ตรงทวารหนักด้วยนิ้วมือ : หลังจากแพทย์ใส่ถุงมือเรียบร้อยแล้ว จะทาน้ำมันหล่อลื่นที่นิ้วชี้และบริเวณทวารหนัก แล้วสอดนิ้วชี้เข้าไปในลำไส้ตรงเพื่อตรวจคลำดูว่ามีก้อนเนื้อหรือไม่
2. การตรวจเลือดที่ปนมากับอุจจาระ : เมื่อเนื้อเยื่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ขยายเพิ่มขึ้นมักจะมีเลือดซึมออกมาในปริมาณน้อย และปนมากับอุจจาระที่ถูกถ่ายออกจากร่างกาย การตรวจเลือดที่ปนมากับอุจจาระสามารถตรวจส่วนประกอบของเลือดที่ปนมากับอุจจาระได้ หากตรวจหลายครั้งและต่อเนื่องแล้วพบว่าผลตรวจเป็นบวก แสดงว่าทางเดินอาหารมีเลือดออกเรื้อรัง จึงควรไปตรวจอีกขั้นอย่างละเอียดว่ามีเนื้องอกที่กระเพาะและลำไส้หรือไม่
3. การตรวจเอกซเรย์ : รวมถึงการสวนแป้งแบเรียม (Brium Enema) ตรวจทางเดินอาหารทั้งหมดและการสวนแป้งแบเรียม สามารถสังเกตเห็นรูปร่างทั้งหมดของลำไส้ว่ามีติ่งเนื้อและจุดเกิดมะเร็งหรือไม่
4. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ : โดยทั่วไปผู้ที่มีอาการอุจจาระเป็นมูกเลือดหรือพฤติกรรมการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป และเมื่อตรวจทวารหนักด้วยนิ้วมือแล้วไม่พบความผิดปกติ ควรทำการตรวจโดยการส่องกล้องไฟเบอร์ตรวจลำไส้ใหญ่ ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาทุกชนิดของลำไส้ใหญ่ ยังสามารถนำเนื้อเยื่อออกมาตรวจได้อีกด้วย
5. การตรวจอัลตราซาวด์ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) : วิธีการตรวจเหล่านี้ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยตรง แต่สามารถบอกตำแหน่งก้อนมะเร็ง ขนาด ความเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อรอบข้าง มะเร็งลามไปยังต่อมน้ำเหลืองกับตับหรือไม่
6. การตรวจชิ้นเนื้อ : เป็นการตรวจชิ้นเนื้อเยื่อของก้อนเนื้อที่น่าสงสัย โดยอาศัยการนำทางของกล้องส่องลำไส้ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งจะเป็นหลักฐานสำคัญที่วินิจฉัยแน่ชัดว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น