วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเลือกอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้




“โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เปลี่ยนแปลง และเจริญเติบโตผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ ผู้สูงอายุและผู้มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งจะมีอัตราเสี่ยง มากกว่าคนปกติหรือผู้ที่มีภาวะโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง และผู้ที่รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น อาการโดยส่วนใหญ่ของมะเร็งลำไส้จะมีท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีเลือดสด อุจจาระมีขนาดเล็กลง มีอาการจุกเสียดแน่นบ่อยครั้ง อ่อนเพลียและน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากลำไส้เป็นอวัยวะสำคัญในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นต้องดูแลเรื่องอาหารเป็นพิเศษ การรักษาที่ถูกต้องร่วมกับโภชนบำบัดที่ถูกหลัก สามารถลดการแพร่กระจายและอาการทรมานจากมะเร็งได้นะคะ”

 ข้าว แป้ง  ควรเลือกชนิดที่เป็นพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นหลัก พวกที่มีใยอาหารอาทิ ข้าวกล้อง ธัญพืช เนื่องจากกลุ่มใยอาหารจะทำหน้าที่ในการดูดซับสารก่อมะเร็งและน้ำดี แล้วขับออกจากร่างกาย ดังนั้นการได้รับใยอาหารที่พอเหมาะ จะช่วยลดโอกาสการรับสารก่อมะเร็ง ของร่างกายได้ ควรรับประทานประมาณ 6-8 ทัพพีต่อวัน สำหรับผู้ที่ผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้แล้ว มีอาการแน่นไม่สบายท้อง ไม่ควรรับประทานครั้งละมากๆ ควรจะค่อยๆ รับประทานทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง

 เนื้อสัตว์   ผู้ป่วยควรได้รับโปรตีนวันละ 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไข่และเนื้อสัตว์ต่างๆเป็นแหล่งของโปรตีนที่ให้กรดอะมิโนครบถ้วน หากผู้ป่วยไม่รับประทานเนื้อสัตว์เลยควรรับประทานถั่วเหลืองผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองแทน แต่หากยังรับประทานเนื้อสัตว์อยู่ ควรเลือกชนิดที่ไม่ติดมันเป็นหลัก หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แหนม เพราะอาหารแปรรูปมักใส่สารไนไตรท์ ซึ่งมีไขมันมาก ทำให้กระตุ้นการเกิดมะเร็งมากขึ้น

               มีงานวิจัยการเสริมโฟเลทสามารถช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งสารอาหารนี้พบมากในนม ดังนั้นการดื่มนมช่วยเสริมสร้างสารโฟเลทแต่ควรเลือกชนิดพร่องมันเนย

 น้ำมัน และ ไขมัน  โดยทั่วไปแล้วอาหารประเภทไขมันควรระวังไม่รับประทานมากแม้ในคนปกติ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ยิ่งจำเป็นต้องดูแลเรื่องของไขมัน ควรเลือกใช้ไขมันที่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว เนื้อปลาทะเลจะมีไขมันไม่อิ่มตัว
               ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องรับประทานวิตามินเสริม เพราะหากรับประทานน้ำมันสกัดยิ่งทำให้ร่างกายได้รับน้ำมันเกินความจำเป็น อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
               งดไขมันที่เกิดจากการปิ้งย่างหรือการทอดน้ำมันซ้ำ ซึ่งล้วนแต่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งได้ และเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสัมผัสกับลำไส้โดยตรงเสี่ยงต่อการทำให้โรคเป็นมากขึ้น

 ผัก และ ผลไม้   ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคมากในระยะนี้ ควรลดปริมาณที่รับประทาน เนื่องจากระบบย่อยอาหารของผู้ป่วยเริ่มแปรปรวน การได้รับใยอาหารมากอาจส่งผลให้เกิดอาการแน่นท้องและท้องอืดได้ อาจรับประทานที่ละน้อย ผักบางชนิดยิ่งทำให้ท้องอืด โดยเฉพาะผักที่มีกลิ่นฉุนเพราะมีสารพวกกำมะถันอยู่มาก เช่น ต้นหอม หัวหอมใหญ่ ดังนั้น หากมีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยง
               นอกจากนี้ ยังมีรายงานการวิจัยหลายงานวิจัยที่พบอาหารมีผลดีต่อการป้องกันและต่อต้านมะเร็งลำไส้ โดยเฉพาะพืชตระกูลกะหล่ำ เพราะมีสาร Isothiocyanate ซึ่งให้ผลดีในการควบคุมมะเร็ง การรับประทานควรล้างให้สะอาด เพราะแม้ผักชนิดนี้จะมีสารพฤษเคมีที่เป็นประโยชน์มากก็จริง แต่ก็เป็นแหล่งตกค้างของสารฆ่าแมลงมากเช่นกัน วิธีการล้างผักที่ได้ผลค่อนข้างดีอาจในน้ำส้มสายชู หรือการลวกผักก็จะเป็นการช่วยลดสารเคมีตกค้างลงไปมาก

               กรณีผู้ป่วยผ่าตัดลำไส้ออกบางส่วน ทำให้ระบบย่อยอาหารได้รับความเสียหายบ้างในช่วงแรก ควรรับประทานอาหารเหลวที่มีพลังงานสูง เพื่อให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ง่ายขึ้น ไม่ควรรับประทานผักและผลไม้มากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดลมในช่องท้องได้

               ผลไม้สามารถรับประทานได้ทุกชนิด ยกเว้นกรณีเพิ่งได้รับการผ่าตัดควรเลือกชนิดที่ย่อยง่าย เช่น มะละกอสุก กล้วยน้ำว้า เป็นต้น และเพิ่มการดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อป้องกันการอุดตันของลำไส้จากเส้นใยอาหาร




                                                                                                                            
"อาหารก่อมะเร็งคือ อาหารทั่วไปในชีวิตประจำวันของคุณ ถ้าทานอาหารผิดก็สามารถกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้ มีอาหารมากมายที่เป็นอาหารก่อมะเร็ง บาทีเราอาจมองข้ามมัน เพราะบางอย่างเราก็รู้อยู่แล้วว่ามันมีประโยชน์ แต่อาหารที่มีประโยชน์อาจเป็นอาหารก่อมะเร็งได้ทันทีเมื่อทานอย่างไม่ถูกต้อง ฉะนั้นเรามาดูกันเลยดีกว่าว่าอาหารก่อมะเร็งมีอะไรบ้าง"



 อาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อรา  โดยเฉพาะเชื้อราที่ชื่อ “แอสเปอจิลลัส เฟวัส” พบว่ามีอันตรายสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ เชื้อราชนิดนี้จะสร้างสารพิษอะฟล่าท็อกซินซึ่งทนทานต่อความร้อนสูงได้มากถึง 260องศาเซลเซียส ดังนั้นความร้อนในอุณหภูมิที่เราใช้หุงต้มคือจุดเดือด 100 องศาเซลเซียสจึงไม่สามารถทำลายสารพิษชนิดนี้ได้ สารพิษอะฟล่าท็อกซินพบได้ในถั่วลิสง พริกแห้ง หอม กระเทียม เป็นต้น

 พริกไทยดำ  ช่วยลดความอ้วน เพราะพริกไทยดำสามารถไปดักจับไขมันที่เราทานได้ แต่ที่จริงแล้วมันเป็นอาหารก่อมะเร็ง เนื่องจากในพริกไทยดำมีสารอัลคาลอยด์ ไพเพอร์ริน เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำปฏิกิริยากับกลุ่มไนโตรเจน กลายเป็นสารก่อมะเร็ง มะเร็งที่อาจพบได้คือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งผิวหนัง

 เฟรนช์ฟราย  ทานเพลินจนไม่รู้โทษของมันเลยว่าเป็นอาหารก่อมะเร็งตัวฉกาจ เพราะเมื่อทอดเฟรนช์ฟรายในอูณหภูมิที่สูง 180 องศาเซลเซียส เฟรนช์ฟรายจะเกิดสารอะครีลาไมด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็ง มะเร็งทีอาจพบ คือ มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ซึ่งอาหารทุกชนิดที่มีกระบวนการทอดด้วยอุณหภูมิที่สูง มีโอกาสที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้เช่นเดียวกัน

 นมวัว  เป็นอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ใครจะคิดว่าเป็นอาหารก่อมะเร็ง แน่นอนว่าถ้าทานอย่างถูกต้องมันย่อมเป็นผลดี แต่ถ้ามีการทานเนื้อสัตว์และไขมันสัตว์สูงด้วยมันก็จะกลายเป็นอาหารก่อ มะเร็ง และอาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย

 ซอสปรุงรส  เป็นตัวช่วยที่ทำให้อาหารมีรสชาดอร่อยขึ้น เลยมองข้ามความอันตรายของมัน แท้จริงแล้วมันก็เป็นอาหารก่อมะเร็งเช่นกัน เพราะมันมีสาร 3-MCPD และ 1,3-DCP อาจสร้างความละคายเคืองลำคอ กระเพาะอาหาร และอาจเป็นอาหารก่อมะเร็งได้ที่ไต ทำให้เป็นมะเร็งที่ไต และทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์อีกด้วย

 ขนมกรุบกรอบ  ขนมประเภทนี้ก็เป็นอาหารอีกประเภทหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งต่อเราได้ เพราะขนมประเภทนี้นอกจากจะใช้ความร้อนในการทอดเหมือนกับพวกเฟรนช์ฟรายแล้ว ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วยไม่ว่าจะเป็น การใช้น้ำมันในการทอดที่อาจจะไม่ได้มีการเปลี่ยนน้ำมันทอด โดยใช้วนซ้ำๆ ทำให้เกิดสารก่อมะเร็งในน้ำมัน และจับตัวที่อาหารที่ใช้น้ำมันนั้นทอดก็เป็นได้

คลิปจากรายการสโมสรสุขภาพ และ คลิปบทสัมภาษณ์แพทย์ทางเลือก สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้

คลิปจากรายการสโมสรสุขภาพ

แพทย์ทางเลือก
แพทย์ทางเลือกถือกำเนิดจากประเทศทางตะวันออกโดยเฉพาะประเทศจีน ประชาชนชาวไทยและประชากรทั่วโลก ได้หันมาสนใจการรักษาแบบแผนโบราณทั้งการฝังเข็ม โยคะ รำไทเก๊ก การทำสมาธิ สมุนไพร ชีวจิต ฯลฯ ปัญหามีอยู่ว่าการรักษาแพทย์ทางเลือกชนิดใดที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับราคาโรคชนิดไหนที่ใช้การรักษาแบบแพทย์ทางเลือก ใครเป็นผู้เชี่ยวชาญ การรักษานั้นมีผลข้างเคียงหรือข้อห้ามอย่างไรบ้าง สมุนไพรนั้นใช้รักษาโรคอะไร ใช้ขนาดแค่ไหน และนานแค่ไหน


เมืองนอกจะมีคำสองคำที่เกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกคือ
Complementary Treatment : การรักษาร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่นการรำไทเก็กร่วมกับการจ่ายยาคลายเครียด
Alternative : การรักษาโรคโดยใช้แผนโบราณอย่างเดียว เช่นใช้การรักษาแบบ Homeopathy



ปรัชญาของการรักษาโดยแพทย์ทางเลือก
ร่างกายสามารถที่จะรักษาตัวเอง : เมื่อคุณเป็นหวัด มีไข้ ปวดตามตัว คุณไม่จำเป็นต้องใช้ยาลดไข้ แต่ให้หาวิธีที่จะกระตุ้นให้ภูมิของร่างกายมาจัดการกับเชื้อโรค
การป้องกันเป็นวิธีที่ดี : แพทย์ทางเลือกมักจะเน้นเรื่องการป้องกันโรคมากกว่าการรักษา การรักษาที่แพทย์ทางเลือกให้นั้นมุ่งเน้นที่ป้องกันโรคมากกว่า
เรียนรู้และร่วมกันรักษา : แพทย์ทางเลือกมักจะศึกษาร่วมกับผู้ป่วยเพื่อหาทางรักษาตามความต้องผู้ป่วย


คลิปบทสัมภาษณ์แพทย์ทางเลือก
ขอขอบคุณ แพทย์หญิงรัตติยา ศรีพุทธ
จากคลินิกการแพทย์แผนไทย คณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ระยะ 0 : พบเซลล์ผิดปกติที่ผนังลำไส้ใหญ่ เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า มะเร็งปฐมภูมิ
ระยะ 1 : มะเร็งเติบโตถึงด้านในผนังลำไส้ และ ลามไปยังชั้นล่างของเยื่อเมือก
ระยะ 2 : มะเร็งเข้าไปในผนังลำไส้ส่วนลึก ลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงลำไส้ใหญ่ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
ระยะ 3 : มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงลำไส้ใหญ่ แต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ระยะ 4 : มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ตับ ผนังช่องท้องและรังไข่ เป็นต้น



วิธีการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีอะไรบ้าง
1. การรักษาโดยการผ่าตัด : การรักษาโดยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาที่ใช้บ่อยในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยทั่วไปแล้วมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบในระยะแรกจะใช้วิธีการรักษาโดยการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกค่อนข้างมาก

2. การรักษาโดยการฉายรังสี : การรักษาโดยการฉายรังสีมักเป็นวิธีการเสริมหลังการรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อลดอัตราการกลับมาเกิดซ้ำของมะเร็งลำไส้ใหญ่

3. การรักษาโดยยาเคมีบำบัด : ก่อนการรักษาโดยการผ่าตัด ให้ยาเคมีที่โพรงลำไส้ก่อนหรือสวนยาเคมีก่อนการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ตรง เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งและเป็นการกำจัดเซลล์มะเร็ง

4. การรักษาโดยการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด : มีข้อดีคือ ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย เจ็บปวดน้อย ไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลนาน เป็นต้น สามารถลดผลข้างเคียงจากการรักษาโดยการฉายรังสีของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ขณะเดียวกันยังสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย

5. การรักษาโดยยาแพทย์แผนจีน (แพทย์ทางเลือก) : จากการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์จีนมานานหลายปีพบว่า การรักษาโดยยาแพทย์แผนจีนมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลของร่างกายและช่วยในการต้านมะเร็ง หากรวมข้อดีของการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบันเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษามากกว่าการรักษาด้วยวิธีเดียว 

“การรักษาแบบบูรณาการแพทย์แผนจีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน” สามารถรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ผ่านหลายรูปแบบ เช่น การให้ยาจีนทางหลอดเลือดแดงอย่างต่อเนื่อง การดูดยาจีนละออง การฉีดยาจีนตรงตำแหน่งฝังเข็ม เป็นต้น ขณะเดียวกันยังสามารถประสานกับการรักษาสุขภาพแบบแพทย์แผนจีน เพื่อเพิ่มสมรรถนะภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยกระดับการรักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย

วิธีการดูแลพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่หลังการผ่าตัดมีอะไรบ้าง
1. เสื้อผ้า : ใส่เสื้อผ้าที่อ่อนนุ่ม หลวม มีความยืดหยุ่น ควรระวังไม่ให้เข็มขัดหรือสายรัดเอวแน่นเกินไป เพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับบาดแผล
2. การอาบน้ำ : เมื่อแผลหายสนิทแล้ว สามารถอาบน้ำได้ โดยใช้อ่างอาบน้ำหรือฝักบัว
3. การรับประทานอาหาร : รับประทานอาหารที่มีสารอาหารอย่างเหมาะสม รับประทานผักและผลไม้สดให้มาก
4. การออกกำลังกาย : สามารถออกกำลังกายที่เหมาะสมได้ ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น
5. สภาพจิตใจ : ควรรักษาสภาพจิตใจที่ดี มองโลกในแง่ดี หลีกเลี่ยงอารมณ์ซึมเศร้าและความตึงเครียด

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่คืออะไร

               โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบบ่อยในผู้ใหญ่ มะเร็งส่วนใหญ่รักษาให้หายขาดได้ถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ มะเร็งลำไส้ใหญ่ก็เช่นกัน ดังนั้นท่านผู้อ่านควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่


โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่คือออะไร

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คืออาการที่เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ภายใต้ปัจจัยก่อมะเร็งต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อมหรือพันธุกรรม เป็นต้น ตำแหน่งที่เกิดโรคบ่อยคือ ลำไส้ตรงและส่วนที่อยู่ระหว่างลำไส้ตรงกับกับลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ (Sigmoid Colon) อัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่รองลงมาจากโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และ โรคมะเร็งหลอดอาหาร พบอัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ค่อนข้างสูงในบุคคลอายุระหว่าง 40-50 ปี ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี มีประมาณ 15% เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงอยู่ที่ 2 : 1



โครงสร้างของลำไส้ใหญ่ และ ทวารหนัก 

ระบบทางเดินอาหารเริ่มตั้งแต่ช่องปาก (Oral Cavity) หลอดอาหาร (Esophagus) กระเพาะอาหาร (Stomach) ลำไส้เล็ก (Jejunum) ส่วนลำไส้ใหญ่เริ่มตั่งแต่ Ascending Colon, Transverse Colon, Descending Colon, Sigmoid Colon ไปสิ้นสุดที่ ทวารหนัก (Rectum) และเปิดที่รูทวาร (Anus)
หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือกักอาหารที่เหลือจากการดูดซึม ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 6 ฟุต ส่วน Rectum ยาว 8-10 นิ้ว


สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้
1. การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำหรืออาหารที่มีปริมาณ Calcium น้อย ทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องเสียบ่อยๆ และเป็นเวลานาน รวมทั้งการรับประทานอาหารที่มีโปรตีน ไขมัน ในปริมาณสูง

2. เกิดก้อนเนื้องอกขึ้นในระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะที่บริเวณลำไส้ ซึ่งอาจเกิดจากปฏิกิริยา Oxidation และสามารถเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ง่ายภายใต้การกระตุ้นหลายอย่าง โดยเปลี่ยนจากก้อนเนื้อดีกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย

3. อาการที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้มาก่อนก็จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้สูงขึ้น

4. โรคโครหน์ (Crohn) หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล : อัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ป่วยโรคโครหน์จะสูงกว่าคนปกติถึง 30 เท่า

5. มีการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และ ไปตกค้างที่ลำไส้

6. เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณลำไส้เกิดการเสื่อมสภาพ สูญเสียความยืดหยุ่นไป ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงที่บริเวณลำไส้ได้อย่างเพียงพอ




อาการแสดงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีอะไรบ้าง
1. อุจจาระเป็นมูกเลือดโดยไม่เจ็บปวด เลือดที่ปนกับอุจจาระเป็นสีแดงสดหรือสีแดงคล้ำ
2. ท้องอืด ปวดท้อง การย่อยอาหารไม่ดี ความอยากอาหารลดลง
3. พฤติกรรมการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป ถ่ายบ่อยหรือมีอาการท้องร่วงสลับกับท้องผูก
4. ลักษณะของอุจจาระเปลี่ยนไป เล็กลง แบนลง หรือ มีรูพรุน
5. ผอมลงอย่างกะทันหัน และ มีอาการโลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
6. มีแผลที่ทวารหนักมานานและไม่หาย ทวารหนักเจ็บอย่างต่อเนื่อง
7. ปรากฏอาการลุกลามไปที่ตับ เช่น เกิดอาการดีซ่าน ท้องมาน และ บวมน้ำ

วิธีการตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่มีอะไรบ้าง
1. การตรวจลำไส้ตรงทวารหนักด้วยนิ้วมือ : หลังจากแพทย์ใส่ถุงมือเรียบร้อยแล้ว จะทาน้ำมันหล่อลื่นที่นิ้วชี้และบริเวณทวารหนัก แล้วสอดนิ้วชี้เข้าไปในลำไส้ตรงเพื่อตรวจคลำดูว่ามีก้อนเนื้อหรือไม่

2. การตรวจเลือดที่ปนมากับอุจจาระ : เมื่อเนื้อเยื่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ขยายเพิ่มขึ้นมักจะมีเลือดซึมออกมาในปริมาณน้อย และปนมากับอุจจาระที่ถูกถ่ายออกจากร่างกาย การตรวจเลือดที่ปนมากับอุจจาระสามารถตรวจส่วนประกอบของเลือดที่ปนมากับอุจจาระได้ หากตรวจหลายครั้งและต่อเนื่องแล้วพบว่าผลตรวจเป็นบวก แสดงว่าทางเดินอาหารมีเลือดออกเรื้อรัง จึงควรไปตรวจอีกขั้นอย่างละเอียดว่ามีเนื้องอกที่กระเพาะและลำไส้หรือไม่

3. การตรวจเอกซเรย์ : รวมถึงการสวนแป้งแบเรียม (Brium Enema) ตรวจทางเดินอาหารทั้งหมดและการสวนแป้งแบเรียม สามารถสังเกตเห็นรูปร่างทั้งหมดของลำไส้ว่ามีติ่งเนื้อและจุดเกิดมะเร็งหรือไม่

4. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ : โดยทั่วไปผู้ที่มีอาการอุจจาระเป็นมูกเลือดหรือพฤติกรรมการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป และเมื่อตรวจทวารหนักด้วยนิ้วมือแล้วไม่พบความผิดปกติ ควรทำการตรวจโดยการส่องกล้องไฟเบอร์ตรวจลำไส้ใหญ่ ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาทุกชนิดของลำไส้ใหญ่ ยังสามารถนำเนื้อเยื่อออกมาตรวจได้อีกด้วย

5. การตรวจอัลตราซาวด์ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) : วิธีการตรวจเหล่านี้ไม่สามารถตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยตรง แต่สามารถบอกตำแหน่งก้อนมะเร็ง ขนาด ความเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อรอบข้าง มะเร็งลามไปยังต่อมน้ำเหลืองกับตับหรือไม่

6. การตรวจชิ้นเนื้อ : เป็นการตรวจชิ้นเนื้อเยื่อของก้อนเนื้อที่น่าสงสัย โดยอาศัยการนำทางของกล้องส่องลำไส้ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งจะเป็นหลักฐานสำคัญที่วินิจฉัยแน่ชัดว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่